การหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) และ การหาค่า (IOC) การทำวิจัยจำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการหาขนาดกลุ่มตัวอย่างและการทดสอบการคำนวณดัชนีความสอดคล้อง (IOC).
ทาโร่ ยามาเน่ ได้คิดค้นทฤษฎีการคำนวณ หรือสูตรคำนวณ สำหรับการกำหนดขนาดกลุ่มจำนวนประชากรตัวอย่างขึ้น ซึ่งทฤษฎีคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน จะเหมาะสมสำหรับการวิจัยที่สนใจประชากรจำนวนมากและทราบจำนวนประชากรทั้งหมดที่ต้องการศึกษาโดยมีสมการ และ การหาค่าดัชนีความสอดคล้องของนวัตกรรมและแบบทดสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เป็นการนำผลของผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่านมารวมกันคำนวณหาความตรงเชิงเนื้อหา ซึ่งคำนวณจากความสอดคล้องระหว่างประเด็นที่ต้องการวัดกับคำถามที่สร้างขึ้น ดัชนีที่ใช้แสดงค่าความสอดคล้อง เรียกว่า ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ (Item-Objective Congruence Index : IOC) ดังนี้.
n = ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการ
N = ขาดของประชากร
e = ความคลาดเคลื่นของการสุ่มตัวอย่างที่ยอมรับได้
IOC = คือ คัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์
R = คือ คะแนนของผู้เชี่ยวชาญ
∑R = คือ ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน
N = คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
เกิด => เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2466 ใน เมืองนิวยอร์ก ประเทศ สหรัฐอเมริกา
สัญชาติ => ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต => เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2522 (อายุ 55 ปี) ที่ ชิบุยะ-กุโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ผลงาน => ได้ตีพิมพ์หนังสือสามเล่มในช่วงชีวิตของเขา หนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เศรษฐศาสตร์ (Yamane (1968)) และอีกสองเล่มเกี่ยวกับสถิติ (Yamane (1967), Yamane (1973))
ยังไม่มีการคำนวณ
ยังไม่มีการคำนวณ
สูตรคำนวณของ Taro Yamane ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane เป็นตารางที่ใช้หาขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อประมาณค่าสัดส่วนของประชากรโดยคาดว่าสัดส่วนของลักษณะที่สนใจในประชากรเท่ากับ 0.5 และระดับความเชื่อมั่น 95% ดังตาราง โดยวิธีการอ่านตารางผู้วิจัยจะต้องทราบขนาดของประชากรและกำหนดระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้
เงื่อนไขในการใช้สูตร
(1) ใช้สำหรับการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เท่านั้น
(2) ใช้สำหรับงานวิจัยเชิงสำรวจที่เกี่ยวข้องกับค่าสัดส่วนเท่านั้น ตัวแปรต้องตอบแค่ 0,1 เช่น ใช่ ไม่ใช่ หรือ ชอบ กับ ไม่ชอบ หรือ ชาย กับ หญิง
(3) ใช้สำหรับงานวิจัยที่ทราบจำนวนประชากรเท่านั้น
(4) แผนการเลือกตัวอย่างต้องเป็นแบบ Simple random sampling เท่านั้น
ข้อที่ | ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 1 | ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 2 | ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 3 | ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 4 | ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 5 | ค่า IOC | ผล | จัดการ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 |
สูตร Taro Yamane คือ หนึ่งในสูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัยเพื่อแจกแบบสอบถาม โดยการใช้ สูตร ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ในการ คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง จะทำให้รู้ว่าควรแจกแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่างกี่คน แทนที่จะต้องแจกให้กับกลุ่มตัวอย่างทุกคน
สูตร Taro Yamane (ทาโร่ ยามาเน่) หรือสูตรอื่นในการ คำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง ที่เหมาะสมเป็นสิ่งจะช่วยทำให้ผู้วิจัย (สำหรับงานวิจัยเชิงสำรวจ) ไม่ต้องแจกแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยทุกคนที่อาจมีจำนวนหลายพันคน
โดยการใช้สูตร Taro Yamane คำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมในงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ซึ่งจะช่วยลดจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ต้องแจกแบบสอบถามจากพันหรือหมื่นคน เหลือเพียงหลักร้อยคน
อย่างไรก็ตาม วิธีคำนวณตาม ทฤษฎี Taro Yamane จะเหมาะกับการวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องที่มีประชากรมากและรู้ตัวเลขจำนวนประชากรทั้งหมดที่ศึกษา อย่างเช่น งานวิจัยที่มีประชากรเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัย (รู้จำนวนนักศึกษาทั้งหมด)
เนื่องจากเมื่อมีจำนวนประชากรอยู่มาก การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการใช้ สูตร ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ในการคำนวณหา ขนาดกลุ่มตัวอย่างประชากรที่เหมาะสม (แทนที่จะสุ่มจำนวนขึ้นมาเองตามใจผู้วิจัย) จะช่วยให้:
สำหรับชื่อของสูตร Taro Yamane หรือ สูตร ทาโร่ ยามาเน่ มาจากชื่อของนักเศรษฐศาสตร์และสถิติชาวญี่ปุ่นที่คิดวิธีการคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างวิธีนี้ขึ้นมาชื่อว่า Taro Yamane ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือ Statistics: An Introductory Analysis เมื่อปี ค.ศ. 1973
สูตร Taro Yamane สำหรับการ คำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง ที่เหมาะสม จะสามารถเขียนเป็นสมการได้คือ n = N ÷ (1 + Ne^2)
โดยความหมายของแต่ละตัวแปรในสูตร Taro Yamane ได้แก่:
สูตรคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง ของ Taro Yamane (ทาโร่ ยามาเน่)
สมมติว่า กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัย ซึ่งมีบุคลากรจำนวน 124 คน โดยงานวิจัยนี้ใช้ค่าความคลาดเคลื่อนที่ 0.05
สมการที่ใช้: n = N / (1 + N * e²)
ขั้นตอนที่ 1: เริ่มต้นจากการหาค่าความคลาดเคลื่อนยกกำลังสอง (e²)
e = 0.05
e² = 0.0025
ขั้นตอนที่ 2: คำนวณส่วนที่อยู่ในวงเล็บ
1 + (N * e²) = 1 + (124 * 0.0025)
= 1 + 0.3100
= 1.3100
ขั้นตอนที่ 3: หาค่าขนาดกลุ่มตัวอย่าง (n)
n = N / (ผลลัพธ์จากขั้นตอนที่ 2)
n = 124 / 1.3100
n = 94.6565
ขั้นตอนที่ 4: ปัดเศษขึ้นหากค่าทศนิยมเกิน 0.50
ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม (n) =
95 คน
ทฤษฎี Taro Yamane คือ วิธีคำนวณหา ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม สำหรับงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องที่มีประชากรมากและรู้จำนวนประชากรทั้งหมด
โดยสามารถคำนวณกลุ่มตัวอย่างด้วย สูตร ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้จาก n = N / (1 + N * e²) โดยที่ n คือ ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (ที่อยากรู้), N คือ จำนวนประชากรทั้งหมด, และ e คือ ค่าความคลาดเคลื่อน
นอกจากนี้ ในทางเทคนิค การคำนวณกลุ่มตัวอย่าง เพื่อหา ขนาดกลุ่มตัวอย่าง ที่เหมาะสมกับการวิจัยไม่ว่าจะด้วย สูตร Taro Yamane หรือสูตรอะไรก็ตาม จะเรียกว่า การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง หรือ Sample Size Determination
การวิเคราะห์เครื่องมือ (แบบสอบถาม) ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบแบบสอบถามการวิจัย ค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม หรือค่าสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุ หรือเนื้อหา (TOC : Index of item objective congruence) แล้วประเมินผลเครื่องมือ ดังนี้
ให้คะแนน 1 ถ้าแน่ใจว่าข้อคำถามวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์
ให้คะแนน 0 ถ้าไม่แน่ในว่าข้อคำถามวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์
ให้คะแนน -1 ถ้าแน่ใจว่าข้อคำถามวัดได้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์
แล้วนำผลคะแนนที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญมาดำนวณหาค่า 10C ตามสูตร
สูตรในการคำนวณ IOC =
โดยกำหนดให้
IOC = คือ คัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์
R = คือ คะแนนของผู้เชี่ยวชาญ
∑R = คือ ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน
N = คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
เกณฑ์
1. ข้อคำถามที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.50 - 1.00 มีค่าความเที่ยงตรง ใช้ได้
2. ข้อคำถามที่มีค่า IOC ต่ำกว่ากว่า 0.50 ต้องปรับปรุง ยังใช้ไม่ได้ หรือตัดทิ้ง