...
ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane)

การหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) และ การหาค่า (IOC) การทำวิจัยจำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการหาขนาดกลุ่มตัวอย่างและการทดสอบการคำนวณดัชนีความสอดคล้อง (IOC).

สูตรคำนวณ ทาโร ยามาเน่ และ สูตรในการคำนวณ IOC

ทาโร่ ยามาเน่ ได้คิดค้นทฤษฎีการคำนวณ หรือสูตรคำนวณ สำหรับการกำหนดขนาดกลุ่มจำนวนประชากรตัวอย่างขึ้น ซึ่งทฤษฎีคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน จะเหมาะสมสำหรับการวิจัยที่สนใจประชากรจำนวนมากและทราบจำนวนประชากรทั้งหมดที่ต้องการศึกษาโดยมีสมการ และ การหาค่าดัชนีความสอดคล้องของนวัตกรรมและแบบทดสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เป็นการนำผลของผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่านมารวมกันคำนวณหาความตรงเชิงเนื้อหา ซึ่งคำนวณจากความสอดคล้องระหว่างประเด็นที่ต้องการวัดกับคำถามที่สร้างขึ้น ดัชนีที่ใช้แสดงค่าความสอดคล้อง เรียกว่า ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ (Item-Objective Congruence Index : IOC) ดังนี้.

...
อธิบายสูตร ทาโร่ ยามาเน่

n = ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการ

N = ขาดของประชากร

e = ความคลาดเคลื่นของการสุ่มตัวอย่างที่ยอมรับได้

...
สูตรในการคำนวณ IOC

IOC = คือ คัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์

R = คือ คะแนนของผู้เชี่ยวชาญ

∑R = คือ ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน

N = คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ

...
Taro Yamane

เกิด => เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2466 ใน เมืองนิวยอร์ก ประเทศ สหรัฐอเมริกา

สัญชาติ => ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา

เสียชีวิต => เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2522 (อายุ 55 ปี) ที่ ชิบุยะ-กุโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ผลงาน => ได้ตีพิมพ์หนังสือสามเล่มในช่วงชีวิตของเขา หนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เศรษฐศาสตร์ (Yamane (1968)) และอีกสองเล่มเกี่ยวกับสถิติ (Yamane (1967), Yamane (1973))

แบบหากลุ่มตัวอย่าง งานวิจัย

การหาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยนำไปกำหนดหาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane)

ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (n):

ยังไม่มีการคำนวณ

วิธีการคำนวณ:

ยังไม่มีการคำนวณ

ตารางสำเร็จรูป Taro Yamane

สูตรคำนวณของ Taro Yamane ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane เป็นตารางที่ใช้หาขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อประมาณค่าสัดส่วนของประชากรโดยคาดว่าสัดส่วนของลักษณะที่สนใจในประชากรเท่ากับ 0.5 และระดับความเชื่อมั่น 95% ดังตาราง โดยวิธีการอ่านตารางผู้วิจัยจะต้องทราบขนาดของประชากรและกำหนดระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้

เงื่อนไขในการใช้สูตร

(1) ใช้สำหรับการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เท่านั้น

(2) ใช้สำหรับงานวิจัยเชิงสำรวจที่เกี่ยวข้องกับค่าสัดส่วนเท่านั้น ตัวแปรต้องตอบแค่ 0,1 เช่น ใช่ ไม่ใช่ หรือ ชอบ กับ ไม่ชอบ หรือ ชาย กับ หญิง

(3) ใช้สำหรับงานวิจัยที่ทราบจำนวนประชากรเท่านั้น

(4) แผนการเลือกตัวอย่างต้องเป็นแบบ Simple random sampling เท่านั้น

...

การคำนวณดัชนีความสอดคล้อง (IOC)

ข้อที่ ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 3 ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 4 ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 5 ค่า IOC ผล จัดการ
1

เกี่ยวกับ

สูตร Taro Yamane คือ หนึ่งในสูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัยเพื่อแจกแบบสอบถาม โดยการใช้ สูตร ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ในการ คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง จะทำให้รู้ว่าควรแจกแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่างกี่คน แทนที่จะต้องแจกให้กับกลุ่มตัวอย่างทุกคน

สูตร Taro Yamane (ทาโร่ ยามาเน่) หรือสูตรอื่นในการ คำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง ที่เหมาะสมเป็นสิ่งจะช่วยทำให้ผู้วิจัย (สำหรับงานวิจัยเชิงสำรวจ) ไม่ต้องแจกแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยทุกคนที่อาจมีจำนวนหลายพันคน

โดยการใช้สูตร Taro Yamane คำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมในงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ซึ่งจะช่วยลดจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ต้องแจกแบบสอบถามจากพันหรือหมื่นคน เหลือเพียงหลักร้อยคน

อย่างไรก็ตาม วิธีคำนวณตาม ทฤษฎี Taro Yamane จะเหมาะกับการวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องที่มีประชากรมากและรู้ตัวเลขจำนวนประชากรทั้งหมดที่ศึกษา อย่างเช่น งานวิจัยที่มีประชากรเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัย (รู้จำนวนนักศึกษาทั้งหมด)

เนื่องจากเมื่อมีจำนวนประชากรอยู่มาก การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการใช้ สูตร ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ในการคำนวณหา ขนาดกลุ่มตัวอย่างประชากรที่เหมาะสม (แทนที่จะสุ่มจำนวนขึ้นมาเองตามใจผู้วิจัย) จะช่วยให้:

  1. ไม่ทำให้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างเล็กเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้มีความคลาดเคลื่อนที่สูง
  2. ไม่ทำขนาดของกลุ่มตัวอย่างใหญ่เกินไป ซึ่งจะทำใช้เวลาและค่าใช้จ่ายในการเก็บตัวอย่างที่มากเกินไป

สำหรับชื่อของสูตร Taro Yamane หรือ สูตร ทาโร่ ยามาเน่ มาจากชื่อของนักเศรษฐศาสตร์และสถิติชาวญี่ปุ่นที่คิดวิธีการคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างวิธีนี้ขึ้นมาชื่อว่า Taro Yamane ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือ Statistics: An Introductory Analysis เมื่อปี ค.ศ. 1973

สูตร ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane)

สูตร Taro Yamane สำหรับการ คำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง ที่เหมาะสม จะสามารถเขียนเป็นสมการได้คือ n = N ÷ (1 + Ne^2)

โดยความหมายของแต่ละตัวแปรในสูตร Taro Yamane ได้แก่:

  • n คือ ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (ที่เราอยากรู้จากสูตร Taro Yamane ว่าจะต้องแจกกี่คน)
  • N คือ ขนาดประชากร (จำนวนประชากรทั้งหมดที่มี)
  • e คือ ค่าความคลาดเคลื่อนที่ใช้ในงานวิจัยนั้น

สูตรคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง ของ Taro Yamane (ทาโร่ ยามาเน่)

สูตร ทาโร่ ยามาเน่ ขนาดกลุ่มตัวอย่าง Taro Yamane วิจัย
สูตรคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง ของ Taro Yamane (ทาโร่ ยามาเน่)

ตัวอย่าง คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง ด้วย สูตร Taro Yamane

สมมติว่า กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัย ซึ่งมีบุคลากรจำนวน 124 คน โดยงานวิจัยนี้ใช้ค่าความคลาดเคลื่อนที่ 0.05

วิธีการคำนวณ:

สมการที่ใช้: n = N / (1 + N * e²)

ขั้นตอนที่ 1: เริ่มต้นจากการหาค่าความคลาดเคลื่อนยกกำลังสอง (e²)
e = 0.05
e² = 0.0025

ขั้นตอนที่ 2: คำนวณส่วนที่อยู่ในวงเล็บ
1 + (N * e²) = 1 + (124 * 0.0025)
= 1 + 0.3100
= 1.3100

ขั้นตอนที่ 3: หาค่าขนาดกลุ่มตัวอย่าง (n)
n = N / (ผลลัพธ์จากขั้นตอนที่ 2)
n = 124 / 1.3100
n = 94.6565

ขั้นตอนที่ 4: ปัดเศษขึ้นหากค่าทศนิยมเกิน 0.50
ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม (n) = 95 คน

สรุป สูตร Taro Yamane

ทฤษฎี Taro Yamane คือ วิธีคำนวณหา ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม สำหรับงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องที่มีประชากรมากและรู้จำนวนประชากรทั้งหมด

โดยสามารถคำนวณกลุ่มตัวอย่างด้วย สูตร ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้จาก n = N / (1 + N * e²) โดยที่ n คือ ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (ที่อยากรู้), N คือ จำนวนประชากรทั้งหมด, และ e คือ ค่าความคลาดเคลื่อน

นอกจากนี้ ในทางเทคนิค การคำนวณกลุ่มตัวอย่าง เพื่อหา ขนาดกลุ่มตัวอย่าง ที่เหมาะสมกับการวิจัยไม่ว่าจะด้วย สูตร Taro Yamane หรือสูตรอะไรก็ตาม จะเรียกว่า การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง หรือ Sample Size Determination


หลักเกณฑ์การตรวจสอบค่า IOC

การวิเคราะห์เครื่องมือ (แบบสอบถาม) ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบแบบสอบถามการวิจัย ค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม หรือค่าสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุ หรือเนื้อหา (TOC : Index of item objective congruence) แล้วประเมินผลเครื่องมือ ดังนี้


ให้คะแนน 1 ถ้าแน่ใจว่าข้อคำถามวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์

ให้คะแนน 0 ถ้าไม่แน่ในว่าข้อคำถามวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์

ให้คะแนน -1 ถ้าแน่ใจว่าข้อคำถามวัดได้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์

แล้วนำผลคะแนนที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญมาดำนวณหาค่า 10C ตามสูตร


สูตรในการคำนวณ IOC =

โดยกำหนดให้

IOC = คือ คัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์

R = คือ คะแนนของผู้เชี่ยวชาญ

∑R = คือ ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน

N = คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ


เกณฑ์

1. ข้อคำถามที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.50 - 1.00 มีค่าความเที่ยงตรง ใช้ได้

2. ข้อคำถามที่มีค่า IOC ต่ำกว่ากว่า 0.50 ต้องปรับปรุง ยังใช้ไม่ได้ หรือตัดทิ้ง

แสดงความคิดเห็น

😊 😂 😍 👍 ❤️ 😢 😡